• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ประวัติความเป็นมา

สภาพทั่วไปเทศบาลตําบลคลองชะอุ่น

ที่ตั้ง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลต้นยวน
ทิศใต้ ติดต่อกับ อําเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพระแสงและอำเภอเคียนชา จังหวัดสุราษธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตําบลพนมพังกาญจน์และตําบลพลูเถื่อนอําเภอพนมจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ขนาดพื้นที่
โดยประมาณ 160 ตารางกิโลเมตร หรืa 100,000 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตําบลคลองชะอุ่น มีลักษณะเป็นที่ราบสูงประมาณ 80% พื้นที่ที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน จะอยู่ในบริเวณทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นตำบล

คลองชะอุ่นเป็นลำคลองที่อำนวยประโยชน์แก่เกษตรกร หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 3 และบางส่วนของหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 13 และหมู่ที่ 1 ของตำบล ต้น น้ำมาจากภูเขาที่กั้นระหว่างอำเภอพนม กับอำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่และรับน้ำจากห้วยน้ำแดง ห้วยบางบ้าน คลองบางทรายนวล คลองบางปริก คลองบางสีหมุด คลองศรีสุก คลองถ้ำเล่ย์ คลองโสโครก คลองหัวช้าง และคลองบางหินผุ

ผู้ เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ก่อนจะมีอำเภอพนมในปัจจุบันนี้ เรามีอำเภอคลองชะอุ่น มาก่อน พร้อมกับอำเภอท่าขนอน อำเภอท่าโรงช้าง ช่วงนั้นขึ้นกับมณฑลไชยา เป็นอำเภอขนาดใหญ่อำเภอหนึ่งในสมัยนั้น เหตุที่อำเภอคลองชะอุ่นต้องเลิกร้างไปสร้างอำเภอพนมนั้น เพราะเกิดโรคระบาด(โรคห่า) ผู้คนล้มตายเป็น อันมาก หมอไม่มีเพียงพอที่จะรักษา ผู้คนที่เหลือก็อพยพหนีตายไปอยู่ที่อื่น ประกอบกับขณะนั้น พืชพันธุ์ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ผู้คนที่เหลืออยู่ประกอบอาชีพแบบชาวเขา คือทำไร่เลื่อนลอยปลูกข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ช้างป่าซึ่งมีอยู่มากก็มาทำลายพืชพันธุ์ ผู้คนจึงอพยพหนีไปอยู่ที่อื่นหมดเป็นเหตุให้ต้องย้ายอำเภอไปอยู่ที่ปากคลอง พนม

ตำบลคลองชะอุ่น (ในอดีตรวมอยู่ในตำบลต้นยวน) มี 5 หมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 แยกบ้านทับคริสต์ มาเป็นหมู่ที่ 6 ตำบลต้นยวน และต่อมาเกิดชุมชนข้างเคียงเกิดขึ้นอีกหลายชุมชน เช่น ชุมชนบ้านบางหิน ชุมชนบ้านบางคราม ชุมชนบ้านแสนสุข เป็นต้น ทำให้การปกครองของกำนันตำบลต้นยวนไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงในขณะนั้น จึงขอให้ทางราชการแยกตำบลต้นยวนส่วนหนึ่งออกมาเป็นตำบลคลองชะอุ่น ในปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมาโดยมีกำนันคนแรกคือ นาย ลำดวน คงเดิม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2540 ได้เลือกตั้งนายสุธรรม จันทร์แสงกุล เป็นกำนันคนต่อมา และในปี พ.ศ. 2543 นายไพฑูรณ์ คงเดิม ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกำนัน กระทั่งในปี พ.ศ. 2550 นายสุธรรม จันทร์แสงกุล ได้กลับเข้ามารับตำแหน่งเป็นกำนันตำบลคลองชะอุ่นจนถึงปัจจุบัน

สภาตำบลคลองชะอุ่น ได้รับการยกฐานะใน ปี พ.ศ.2538 เป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น" ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งนายลำดวน คง เดิม กำนันตำบลคลองชะอุ่นขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น(คนแรก โดยตำแหน่ง) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2540 ได้เลือกตั้งนายสุธรรม จันทร์แสงกุล เป็นกำนันคนต่อมา และดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น คนที่สอง โดยมีนายนิโรจน์ จันทร์ เมฆ เป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 และในปี พ.ศ.2543 ได้มีการทำการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น โดยนายนิโรจน์ จันทร์ เมฆ ได้รับการเลือกตั้งจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่นเป็น ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น คนที่สาม ต่อมา ได้รับการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น

ต่อมา ปี พ.ศ.2547 ได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น โดยนางจำปี ทองวัน ได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น บริหารงานระหว่าง พ.ศ.2547 - 2551

"เทศบาลตำบลคลองชะอุ่น" ได้รับการยกฐานะจาก"องค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น" ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ตามหนังสือ อำเภอพนม ที่ มท 0882.20/0422 ลงวันที่ 26 มิถุนายน2551 เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล ซึ่งได้แจ้งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น พร้อม แผนที่ท้ายประกาศกระทรงมหาดไทย ฯ ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2551 มีผล ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป

โดยมีนายไพฑูรณ์ คงเดิม ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น คนแรก และ สภาเทศบาลได้แต่งตั้ง นายสำเริง แก้วฉ่ำ เป็นประธานสภาเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น บริหารงานเทศบาลฯจนครบวาระ 4 ปี ระหว่าง พ.ศ.2551 – 2555 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลคลองชะอุ่นและนายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น พ.ศ.2555 นายไพฑูรณ์ คงเดิม ยังคงได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น และนายสำเริง แก้วฉ่ำ ยังคงดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น บริหารงานเทศบาลฯตั้งแต่ พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์ (Vision)
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สืบสานประเพณีวัฒนธรรม นำพาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมสนองพระราชดำริ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ภายในปี 2567
พันธกิจ
1. พัฒนาบุคลากร ระบบเทคโนโลยี พัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ องค์กร ให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี
2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกระดับ และสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มกิจกรรม กลุ่มองค์กรเพื่อการ พัฒนาตนและชุมชน
3. ส่งเสริมกิจกรรมด้านการรักษาพยาบาลและการบริการด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชน
4. พัฒนาระบบการจัดการศึกษาเรียนรู้ภายในตําบล และยกระดับการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้พร้อมต่ออการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
5. ส่งเสิริมการอนุรักษ์ สือทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และการกีฬานันทนาการต่างๆ ในระดับชุมชน
6. ส่งเสริมการจัดทําระบบข้อมูลชุมการกระจายอํานาจ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และแผนการปฏิบัติงานขององค์กร
7. ส่งเสริมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมโดยเน้นชุมชน มีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา
8. ส่งสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนการลงทุน SMEs วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยลม" และการพัฒนาศักยภาพ ทักษะการประกอบอาชีพ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สรอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
9. พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทุกด้าน พัฒนาระบบผังเมือง ภูมิทัศน์จุมชน และผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ของชุมมชน
10.สริมสร้างสูงค์ความรู้และกิจกรรมการมีส่วนรวมให้กับประชาชน ชุมชน เครือข่ายอลูมสูงค์กรชุมชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11.บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ บริหารจัดการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันนี้สูงมา จากโครงการพระราชดําริฯ (สนองพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฯ
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1. องค์กรมีการบริหารจัดการที่ดี บุคลากรมีศักยภาพ มีอุกปรณ์และเทคโนโลยีทันสมัย ระบบการจัดเก็บรายได้ ประสิทธิภาพ
2. ประชาชนทุกระดับ ได้รับพัฒนาคุณภาพชีวิต และเกิดการรวมกลุ่มกิจกรรม กลุ่มสงค์กรเพื่อการพัฒนาตนเองและชุมชน
3. ประชาชนได้รับการการบริการรักษาพยาบาลและการบริการด้านสาธารณสุข อย่างสมอภาคและเท่าเทียมกัน
4. ระบบการจัดการศึกษาเรียนรู้ภายในตําบล และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการยกระดับการเรียนการสอน พร้อมพอต่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจสายน (AEC)
5. ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบทฮดภูมิปัญญาท้องถิ่น (วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และการกีฬา นันทนาการต่างๆ ในระดับชุมชน
6. องค์กรมีข้อมูลที่คลอบคลุมและเอื้อประโยชน์ต่อการวางแผน พัฒนาท้องถิ่นและแผนปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ
7. ชุมชนเกิดศูนย์กลางการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมีส่วนร่วมในการปลงกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมโดยเน้นชุมชนมีส่วนรวม
8. แหล่งท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐานระดับครัวเรือนและชุมขน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ผลิด สอดคล้องแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
9. โครงสร้างพื้นฐานทุกด้าน ระบบผังเมือง ภูมิทัศน์ชุมชนและการใช้ประโยชนพื้นที่ ลงชุมชน ได้รับการวางแผนและ พัฒนาทุกด้าน
10. ประชาชน ชุมชน เครือข่ายกลุ่มองค์กรชุมชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ บริหารจัดการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมา (จากโครงการพระราชดําริฯ เสนอพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ฯ